SOLAR CELL SYSTEM

งานติดตั้งระบบโซล่าร์

“จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถใช้ไฟฟ้า ได้จากพลังงานที่มีอย่างไม่จำกัด”

✅ช่วยลดค่าไฟฟ้า

โซล่าร์เซลล์เริ่มผลิตไฟฟ้าได้ตั้งแต่ช่วง 7 โมงเช้า ไปจนถึงช่วงเวลา 4 โมงเย็น โดยกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน ในการคำนวณหาค่าเฉลี่ยพลังงานที่ได้รับต่อวัน เราจะใช้จำนวนชั่วโมงแดด หรือที่เรียกว่าค่า Peak Sun Hour จำนวน 4 ชั่วโมง คือช่วงเวลา 11 โมงเช้าถึงบ่าย 3 โมงเย็น

แต่หากเราต้องการที่จะใช้ไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ก็สามารถติดตั้งระบบไฮบริด (Hybrid) โดยติดตั้งอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน หรือแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟฟ้าไว้ในในเวลากลางคืนได้

✅ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออดไซด์ (CO2)

การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังมีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน แผงโซลาร์เซลล์ผลิตพลังงานโดยไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศ

✅สามารถใช้ไฟฟ้าได้ในพื้นที่ๆ ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

ระบบโซล่าร์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้า และนำมาใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้า ทำให้ถึงแม้ว่าในพื้นที่ๆ ระบบของการไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ก็ยังสามารถมีไฟฟ้าใช้ได้

ประโยชน์ของการติดตั้งระบบโซล่าร์

ในปัจจุบันนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าไฟฟ้านั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เห็นได้จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นในทุกๆ ปี แต่ค่าไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน พลังงานทางเลือกอย่างโซล่าเซลล์ จึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ด้วยประโยชน์ในหลากหลายมิติ ดังนี้

SOLAR CELL EQUIPMENT

อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบโซล่าร์

1. แผงโซล่าเซลล์ (PV Module)
ใช้สำหรับเป็นตัวรับแสงอาทิตยื และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC Current)

2. อินเวอร์เตอร์ (Inverter)
เป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากแผงโซล่าเซลลล์ เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
(AC Current) เพื่อใช้กับอุปกรณ์เครื่องใชไฟฟ้าภายในบ้าน

3. อุปกรณ์กักเก็บพลังงาน (ESS : Energy Storage System)
เป็นอุปกรณ์สำหรับกักเก็บพลังงาน ซึ่งหากเรามีการติดตั้ง ESS ก็จะสามารถเก็บพลังงานไว้ใช้ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ

SOLAR CELL EQUIPMENT

อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบโซล่าร์

1. แผงโซล่าเซลล์ (PV Module)
ใช้สำหรับเป็นตัวรับแสงอาทิตยื และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC Current)

2. อินเวอร์เตอร์ (Inverter)
เป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากแผงโซล่าเซลลล์ เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
(AC Current) เพื่อใช้กับอุปกรณ์เครื่องใชไฟฟ้าภายในบ้าน

3. อุปกรณ์กักเก็บพลังงาน (ESS : Energy Storage System)
เป็นอุปกรณ์สำหรับกักเก็บพลังงาน ซึ่งหากเรามีการติดตั้ง ESS ก็จะสามารถเก็บพลังงานไว้ใช้ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ

Engineer has checking Main Distribution Board

SOLAR CONSTRUCTION

ขั้นตอนการติดตั้งระบบโซล่าร์

01
สำรวจและออกแบบ

ให้บริการสำรวจ ออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้พลังงาน เพื่อให้ลดค่าไฟฟ้าได้จริง

02
คัดเลือกอุปกรณ์

เราให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ที่เลือกใช้ โดยจะเลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน และเหมาะสมกับการใช้งาน

03
ติดตั้งโดยทีมงานมืออาชีพ

ทีมงาน Mr.Solar มีความเชี่ยวชาญในงานวิศวกรรมระบบ เรามีวิศวกรควบคุมการติดตั้งในทุกขั้นตอนเพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

04
ประสานงานภาครัฐ

ดำเนินการขออนุญาต จัดเตรียมเอกสาร และประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาดได้อย่างถูกต้อง

PORTFOLIO

ผลงานติดตั้ง

Warehouse with solar roof top
Smiling Engineer handling Ipad

FAQ

คำถามที่พบบ่อย

ควรติดตั้งกี่กิโลวัตต์?

ขนาดกำลังติดตั้งขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้า และพื้นที่ในการติดตั้ง ในการประเมินเบื้องต้นอาจจะดูจากบิลค่าไฟฟ้าเช่น ค่าไฟเดือนละ 3,000 บาท ใช้เฉลี่ยกลางวันและกลางคืนเท่ากัน ( 50 : 50 ) เมื่อคำนวณแล้วติดตั้งขนาด 3kW ก็เพียงพอสำหรับลดค่าไฟฟ้าในช่วงกลางวันเป็นต้น อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุดคือให้ผู้เชี่ยวชาญของ Mr.Solar by QTCG เข้าไปดำเนินการสำรวจ เพื่อหา Solution ที่เหมาะสมในการประหยัดค่าไฟสูงสุดให้กับคุณ

หลังคาแบบใดติดได้บ้าง มีผลกระทบไหม?

สามารถติดตั้งได้กับหลังคาทุกประเภท แต่ต้องได้รับการตรวจสอบให้มั่นใจว่า โครงสร้างหลังคาสามารถรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ได้ ซึ่งทาง Mr.Solar by QTCG มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญให้บริการตรวจประเมินหน้างานก่อนติดตั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถติดตั้งระบบได้อย่างปลอดภัย

ปลอดภัยหรือเปล่า?

การติดตั้งระบบโซล่าร์ของ Mr.Solar by QTCG มีการสำรวจ ออกแบบ ควบคุมการติดตั้ง โดยวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ เราเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานระดับสากล และติดตั้งตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าระบบของเราปลอดภัยและลดค่าไฟได้จริง

ควรทำความสะอาดบ่อยแค่ไหน?

โดยปกติควรทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ 4 - 6 เดือนครั้ง ขึ้นอยู๋กับสภาพแวดล้อมของสถานที่ติดตั้งว่ามีฝุ่นละอองมากน้อยเพียงใด โดยการล้างจะใช้น้ำสะอาดล้างแล้วใช้แปรงขนอ่อนเช็คคราบน้ำออก ที่สำคัญคือไม่ควรใช้น้ำยาเคมีล้างแผงเพราะอาจจะทำให้สารเคลือบหน้าแผงได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

หน้าฝนโซล่าเซลล์ทำงานได้ไหม?

ทำได้ เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าโดยใช้ความเข้มของแสง แปลว่าถึงแม้ฝนจะตกอยู่แต่หากแสงมีความเข้มพอก็ยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้อยู่ ส่วนจะผลิตได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความเข้มแสงในช่วงเวลานั้นๆ

ส่วนเรื่องของความปลอดภัยของระบบในช่วงหน้าฝน Mr.solar by QTCG ติดตั้งระบบตามมาตรฐาน โดยแผงโซล่าเซลล์จะมีการติดตั้งสายดินเพื่อป้องกันแผงเสียหายกรณีถ้าเกิดฟ้าผ่า รวมถึงอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ที่เลือกใช้ก็มีระบบป้องกันฟ้าผ่าในตัว ดังนั้นมั่นใจได้เลยว่าระบบของเราปลอดภัยแน่นอน