ระบบโซลาเซลล์คืออะไร?
ระบบโซลาเซลล์คืออะไร
ระบบโซล่าเซลล์ คือ ระบบเซลล์สุริยะที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแผงโซลาเซลล์ (Solar Panel)
ที่นิยมติดบนหลังคาบ้าน (Solar Rooftop) โดยจะทำการแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าที่สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ เช่น พัดลม หลอดไฟ ตู้เย็น แอร์ ทีวี และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่มีในครัวเรือน ซึ่งจะไม่เหมือนกับไฟโซล่าเซลล์ หรือพัดลัมโซลาที่วางขายตามร้านค้าออนไลน์.
ระบบโซลาเซลล์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ระบบโซลาเซลล์ประกอบไปด้วย แผงโซลาเซลล์ แบตเตอรี่ เครื่องควบคุมการชาร์จ และอินเวอร์เตอร์ รายละเอียดการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้นสามารถอ่านต่อได้ที่ลิ้งค์ด้านล่าง
แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) แผงวงจรที่ใช้แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า
อินเวอร์เตอร์ (Solar Inverter) อุปกรณ์แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า
แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ (Solar Battery) ซึ่งแบตเตอรี่ของระบบโซล่าเซลล์จะเป็นแบตเตอรี่ deep cycle ใช้สำหรับเก็บกระแสไฟสูงๆ ที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ โดยสามารถจ่ายกระแสไฟได้สูงอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่าแบตเตอรี่รถยนต์หลายเท่า
เครื่องควบคุมโซล่าชาร์จเจอร์ (Solar Charge Controller) มีไว้สำหรับควบคุมการทำงานของโซล่าเซลล์ ตั้งแต่นำส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ ไปจนถึงควบคุมการจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
ระบบโซลาเซลล์ มีกี่แบบ และต่างกันยังไง
ปัจจุบันระบบโซลาเซลล์มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ ระบบโซลาเซลล์แบบออนกริด ระบบโซลาเซลล์แบบออฟกริด และระบบโซลาเซลล์แบบไฮบริด โซลาเซลล์กูรูได้อธิบายความแตกต่างกันระหว่างระบบโซล่าเซลล์ทั้งสามแบบ และแต่ละแบบเหมาะกับการใช้งานแบบไหน
1. ระบบโซลาเซลล์ on grid (ออนกริด)
เหมาะกับการใช้ในครัวเรือน คาเฟ่ หรืออาคารที่ติดตั้งบนหลังคาเพื่อผลิตไฟฟ้ามาใช้ในช่วงกลางวัน ถ้าเลือกใช้แบบออนกริดต้องเป็นบ้านหรืออาคารที่ใช้ไฟช่วงกลางวันมาก ไม่งั้นจะไม่คุ้ม แบบออนกริดจะไม่มีแบตเตอรี่ ดังนั้นไฟที่ผลิตได้จะไม่สามารถใช้ตอนกลางคืน โซลาร์เซลล์แบบออนกริด สามารถให้ไฟกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพียงเลือกติดตั้งจำนวนและขนาดแผงโซลาเซลล์ให้เหมาะกับกำลังไฟที่ต้องใช้ก็พอ
โซล่าเซลล์แบบออนกริด (On grid) เหมาะกับใคร?
เหมาะกับการใช้ในครัวเรือน คาเฟ่ หรืออาคารที่ติดตั้งบนหลังคาเพื่อผลิตไฟฟ้ามาใช้ในช่วงกลางวัน ถ้าเลือกใช้แบบออนกริดต้องเป็นบ้านหรืออาคารที่ใช้ไฟช่วงกลางวันมาก ไม่งั้นจะไม่คุ้ม แบบออนกริดจะไม่มีแบตเตอรี่ ดังนั้นไฟที่ผลิตได้จะไม่สามารถใช้ตอนกลางคืน โซลาร์เซลล์แบบออนกริด สามารถให้ไฟกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพียงเลือกติดตั้งจำนวนและขนาดแผงโซลาเซลล์ให้เหมาะกับกำลังไฟที่ต้องใช้ก็พอ
2. ระบบโซล่าเซลล์ off grid (ออฟกริด)
สำหรับระบบโซลาเซลล์ off grid นั้น จะเป็นระบบที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีไฟจากการไฟฟ้ามาช่วยเสริมแบบระบบออนกริด เหมาะสำหรับใช้งานในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ซึ่งระบบออฟกริดนี้ สามารถใช้ได้ทั้งแบบไม่มีแบตเตอรี่ ที่ใช้ไฟได้เฉพาะในเวลากลางวันเท่านั้น และแบบมีแบตเตอรี่ ปกติระบบโซลาเซลล์นั้นจะใช้แบตเตอรี่ deep cycle ที่มีประสิทธิภาพกักเก็บไฟฟ้าได้นาน ช่วยให้สามารถใช้ไฟได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งแบตเตอรี่ที่ใช้นั้นในหนึ่งลูกจะมีแรงดันเท่ากับ 12v หรือที่เรียกว่า ระบบโซลาเซลล์ 12v นั่นเอง
ระบบโซล่าเซลล์ off grid ราคาจะค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับโซล่าเซลล์ระบบอื่น แต่สามารถใช้แทนไฟจากการไฟฟ้าได้จริงครอบคลุมการใช้งานตลอดทั้งวัน จึงเหมาะกับบ้านหรือการใช้งานที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง นอกจากเรื่องราคาติดตั้งที่สูงแล้ว แบตเตอรี่ ราคาก็ยังสูงอยู่ และอายุการใช้งานของแบตเตอรี่อยู่ที่ 3-5 ปี ทำให้ราคาการบำรุงรักษาอาจจะสูงกว่าแบบ on grid
โซลาเซลล์แบบออฟกริด (Off grid) เหมาะกับใคร?
ผลิตไฟฟ้าตอนกลางวัน สะสมพลังงานไว้ในแบตเตอรี่และนำไปใช้ต่อเวลาแสงหมด และตอนกลางคืนได้ จึงทำให้เหมาะกับบ้านที่ไฟไม่ถึง หรือใช้ในการเกษตร ที่เรียกทั่วไปว่า ชุดนอนนา โซลาเซลล์ เป็นชุดระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด ที่ติดตั้งง่าย ไม่ต้องขออนุญาตการไฟฟ้า กระแสไฟจะมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของแผงโซลาเซลล์ และขนาดแบตเตอรี่
3. ระบบโซลาเซลล์ hybrid (ไฮบริด)
หลักการทำงานของระบบโซลาเซลล์ hybrid นั้น คือนำระบบออนกริด และออฟกริดมารวมกัน โดยระบบไฮบริดจะมาพร้อมกับแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บไฟไว้ใช้ในเวลากลางคืน เหมือนระบบ off grid แต่หากในเวลากลางคืน กระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่หมดก็จะดึงไฟฟ้าของการไฟฟ้ามาช่วยเสริม ทำให้มีไฟใช้อย่างต่อเนื่อง ประหยัดค่าไฟได้อีกด้วย ซึ่งราคาโซล่าเซลล์แบบ hybrid นั้นค่อนข้างสูง
โซลาเซลล์แบบไฮบริด (Hybrid) เหมาะกับใคร?
เหมาะสำหรับอุตสาหกรรม โรงงาน หรือบ้านขนาดใหญ่ ระบบไฮบริดต้องติดตั้งด้วยผู้เชี่ยวชาญทั้งการเดินวงจร และติดตั้งแผงโซลาเซลล์ หากแผงมีกำลังผลิตมาก สามารถติดต่อขายไฟที่เหลือให้กับการไฟฟ้าได้ด้วย